วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

The ASSURE Model การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง



The ASSURE Model

การใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ โดยใช้แบบจำลอง

ในการใช้สื่อการสอนนั้น ผู้สอนควรจะมีการวางแผนการใช้สื่ออย่างรัดกุม และเป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการปฎิบัติ ซึ่งจะทำให้ผู้สอนเกิดความมั่นใจในการใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สูงสุด ตามความสามารถของแต่ละบุคคล และตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้ การวางแผนการใช้สื่อการสอนโดยใช้แนวคิดของ วิธีระบบ เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้การวางแผนการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ " The ASSURE Model" เป็นแบบจำลองที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ เพื่อวางแผนการใช้สื่อกสารสอนอย่างมีประสิทธิภาพ (Heinich, และคณะ)

แบบจำลอง The ASSURE Model มีรายละเอียดดังนี้

Analyze learners การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน

State objectives การกำหนดวัตถุประสงค์

Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่

Utilize media and materials การใช้สื่อ

Require learner participation การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน

Evaluate and revise การประเมินการใช้สื่อ

Analyze learners (การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน)

การวิเคราะห์ลักษณะของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนเข้าใจลักษณะของผู้เรียนและสามารถเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนและบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียนนั้นจะวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ

1. ลักษณะทั่วไป เป็นลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน แต่เกี่ยวข้องกับการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนโดยตรง ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่เรียน ระดับสติปัญญา ความถนัด วัฒนธรรม สังคม ฯลฯ

2. ลักษณะเฉพาะ เป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่จะสอน ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกวิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอน ได้แก่

2.1 ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้เรียนในเนื้อหาที่จะสอน

2.2 ทักษะที่เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียน เช่น ทักษะด้านภาษา คณิตศาสตร์ การอ่าน และการใช้เหตุผล

2.3 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จะสอนนั้นหรือยัง

2.4 ทัศนคติของผู้เรียนต่อวิชาที่จะเรียน

State objectives (การกำหนดวัตถุประสงค์)

การเรียนการสอน ในแต่ละครั้งต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ซึ่งควรเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่กำหนดความสามารถของผู้เรียนว่าจะทำอะไรได้บ้าง ในระดับใด และภายใต้เงื่อนไขใดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถเลือกใช้วิธีการสอนและสื่อการเรียนการสอนได้เหมาะสม

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดขึ้นสำหรับการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ควรให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ทางการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ

1. พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และการพัฒนา

2. จิตตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยมและการเสริมสร้างทางปัญญา

3. ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออกหรือการปฏิบัติ

Select instructional methods, media, and materials การเลือก ดัดแปลงหรือออกแบบสื่อใหม่

การที่จะมีสื่อที่เหมาะสมในการเรียนการสอนนั้น สามารถทำได้ 3 วิธีด้วยกัน คือ

การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว

เป็นการพิจารณาเลือกสื่อการเรียนการสอน ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้วควรมีเกณฑ์ในการพิจารณาดังนี้

ลักษณะผู้เรียน

วัตถุประสงค์การเรียนการสอน

เทคนิคหรือวิธีการเรียนการสอน

สภาพการณ์และข้อจำกัดในการใช้สื่อการเรียนการสอนแต่ละชนิด

การปรับปรุง หรือดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว

กรณีที่สื่อการเรียนที่มีอยู่แล้วไม่เหมาะสมกับการใช้ในการเรียนการสอน ให้พิจารณาว่าสามารถนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอนได้หรือไม่ ถ้าปรับปรุงได้ก็ให้ปรับปรุงก่อนนำไปใช้

การออกแบบสื่อใหม่

กรณีที่สื่อการเรียนการสอนที่มีอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่เหมาะสมที่จะนำมาปรับปรุงใช้ หรือไม่มีสื่อการเรียนการสอนที่ต้องการใช้ในแหล่งบริการสื่อการเรียนการสอนใดเลย ก็จำเป็นต้องออกแบบและสร้างสื่อการเรียนการสอนขึ้นมาใหม่

Utilize media and materials (การใช้สื่อ)

ขั้นตอนการใช้สื่อการเรียนการสอน มีขั้นตอนที่สำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน คือ

1. ดูหรืออ่านเนื้อหาในสื่อ / ทดลองใช้

ก่อนนำสื่อการเรียนการสอนใดมาใช้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการตรวจสอบเนื้อหาว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และทดลองใช้ดูว่ามีปัญหาหรือไม่ ถ้ามีจะได้แก้ไขปรับปรุงได้ทัน

2. เตรียมสภาพแวดล้อม / จัดเตรียมสถานที่

การที่จะใช้สื่อการเรียนการสอนจำเป็นที่ต้องมีการเตรียมสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก แสง การระบายอากาศ และอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อการสอนแต่ละชนิด

3. เตรียมผู้เรียน

ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการใช้สื่อการเรียนการสอนได้ดีนั้น จะต้องมีการเตรียม

ผู้เรียนให้พร้อมที่จะเรียนเรื่องนั้น ๆ โดย การแนะนำสิ่งที่จะนำเสนอ อาจจะเป็นเรื่องย่อ สิ่งที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น การเร้าความสนใจ หรือเน้นจุดที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนมีเป้าหมายในการฟังหรือดูสิ่งที่ผู้สอนนำเสนออันจะนำไปสู่การเรียนรู้ที่ดีได้

4. การนำเสนอ / ควบคุมชั้นเรียน

ผู้สอนที่ทำหน้าที่ผู้เสนอสื่อการเรียนการสอนนั้น ในการนำเสนอควรปฏิบัติดังนี้

4.1 ต้องทำตัวเป็นตัวกลางที่จะทำให้การนำเสนอครั้งนั้นประสบความสำเร็จ

โดยการทำตัวให้เป็นธรรมชาติ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสมที่ติดเป็นนิสัย เช่น หักนิ้ว บิดข้อมือ กดปากกา พูดเสียง เอ้อ………อ้า…… เพราะจะทำให้ผู้เรียนสนใจ ท่าทางเหล่านี้แทน

4.2 ท่าทางการยืน ต้องยืนหันหน้าให้ผู้เรียน ถ้ายืนเฉียงก็ต้องหันหน้าหาผู้เรียนไม่ควรหัน ข้างหรือหันหลังให้ผู้เรียน

4.3 ขณะที่บรรยายนำเสนอสื่อการเรียนการสอนต้องสอดแทรกอารมณ์ขันบ้าง

4.4 ประเมินความสนใจของผู้เรียน โดยใช้การกวาดสายตามองผู้เรียนให้ทั่วทั้งชั้นซึ่งเป็นการแสดงความสนใจผู้เรียน และวิเคราะห์สีหน้า ท่าทางของผู้เรียนไปพร้อมกัน

4.5 อย่าใช้เวลาเตรียมสื่อนานเกินไปจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่าย

4.6 นำเสนอให้ถูกวิธีตามที่ได้มีการทดลองใช้มาก่อนแล้ว

Require learner participation (การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน)

การใช้สื่อในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนให้มากที่สุด โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถ ตอบสนองโดยเปิดเผย ( overt respone ) โดยการพูดหรือเขียน และการตอบสนองภายในตัวผู้เรียน ( covert response ) โดยการท่องจำหรือคิดในใจ เมื่อผู้เรียนมีการตอบสนองผู้สอนควรให้การเสริมแรงทันที เพื่อให้ผู้เรียนทราบว่าตนมีความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้องหรือไม่ โดยการให้ทำแบบฝึกหัด การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการใช้บทเรียนแบบโปรแกรม

Evaluate and revise (การประเมินการใช้สื่อ)

หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้ว จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ช่วยให้ผู้สอนทราบว่า การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใดสิ่งที่ต้องประเมินได้แก่

การประเมินผลกระบวนการเรียนการสอน จะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาวิธีการสอนและการใช้สื่อการเรียนในครั้งต่อ ๆ ไปให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การประเมินสื่อและวิธีการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าสื่อและวิธีการสอนที่ใช้มีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ ช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือไม่ การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนควรให้ครอบคลุม ด้านความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนการสอน ด้านคุณภาพของสื่อ เช่น ขนาด รูปร่าง สี ความชัดเจนของสื่อ

การประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อที่กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด

สรุป

จากรูปแบบจำลอง The ASSURE model จะเน้นถึงการวางแผนการใช้สื่ออย่างเป็นระบบในสภาพของห้องเรียนจริง เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำรูปแบบจำลองนี้ มาใช้วางแผนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากผู้สอนสามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการได้ถูกต้องทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อประเภทสื่อฉาย

ธรรมชาติของสื่อ
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น

ข้อเด่นของสื่อ
1.สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2.เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก

ข้อด้อยของสื่อ
1. สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน ข้อความ หรือวัสดุทึบแสงให้มีขนาดใหญ่ได้
2. เหมาะสำหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
3. ช่วยลดภาระในการผลิตแผ่นภาพโปร่งใส สไลด์ หรือภาพกราฟิก

หลักการใช้สื่อ
ประเภทของเครื่องฉาย
เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น
1. แบ่งตามระบบการฉาย
1.1. ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ

1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย
แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส

1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉาย
ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง

2. แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
2.1 เครื่องฉายภาพนิ่ง จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น
2.2 เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3. แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
3.1 เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Transparency Projector) ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง (Transparency Materials) เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม เป็นต้น
3.2 เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector) เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้ แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง
เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ

4. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ เช่น
4.1 เครื่องฉายสไลด์
4.2 เครื่องฉายฟิล์มสตริป
4.3 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
4.4 เครื่องฉายภาพทึบแสง
5. แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
5.1 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย เช่น
5.1.1 เครื่องฉายสไลด์
5.1.2 เครื่องฉายฟิล์มสตริป
5.1.3 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
5.1.4 เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.2 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น จนแทบจะกล่าวได้ว่า เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว