วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

สื่อการสอนประเภทกิจกรรมสื่อกิจกรรม

สื่อการสอนประเภทกิจกรรมสื่อกิจกรรม หมายถึง กระบวนการเรียนการสอนที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการลงมือกระทำ สื่อการสอนมีความหมายกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการต่าง ๆ ที่นำมาใช้เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้เรียน กิจกรรมหรือวิธีการนับเป็นสื่อการสอนที่มีศักยภาพสูงต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้บทเรียนดำเนินไปอย่างสนุกสนาน น่าสนใจ ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมในกิจกรรมตลอดเวลา การใช้วิธีการหรือกิจกรรมเพื่อการเรียนการสอนอาจต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์เข้ามาช่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้นลักษณะสื่อกิจกรรมที่ดี
1. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ การทำกิจกรรม และประเมินผลกิจกรรม
2. ผู้เรียนได้ฝึกฝนพฤติกรรมการเรียนทั้งทางด้านความรู้ เจตคติ และทักษะผสมผสานกันเป็นบูรณาการอย่างเป็นระบบ
3. มีลักษณะของการกระทำเด่นชัดด้วยการกำหนดคำที่แสดงถึงการกระทำไว้ด้วยทุกครั้ง
4. กำหนดเงื่อนไขสำหรับประกอบกิจกรรมไว้ชัดเจน สามารถวัดผล และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนได้
5. มีเกณฑ์หรือมาตรฐานในการดำเนินกิจกรรม กำหนดพฤติกรรมที่ถือเป็นระดับต่ำสุดที่พึงพอใจ
6. ใช้เวลาพอเหมาะที่ผู้เรียนจะสามารถดำเนินกิจกรรมให้ประสบผลสำเร็จ และก่อให้เกิดความภาคภูมิใจได้
7. มีการชี้แนวทางหรือนำทางในการดำเนินกิจกรรมได้เด่นชัด
8. กิจกรรมต้องตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
9. กิจกรรมไม่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
10. เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
สื่อการสอนประเภทกิจกรรมที่จะนำเสนอในหน่วยการเรียนนี้มี 6 ชนิด คือ
1. นิทรรศการ (Exhibition)
2. นาฏการ (Dramatization)
3. การสาธิต (Demonstration)
4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)
5. สถานการณ์จำลอง (Simulation)
6. การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip)

1. นิทรรศการ (Exhibition)นิทรรศการ หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของวัสดุ อุปกรณ์มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่อง เพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อหลายชนิด เช่น แผนภาพ หุ่นจำลอง ของจริง นอกจากนี้นิทรรศการยังสามารถจัดกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบ
1. ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ ฝึกความรับผิดชอบ ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในทางที่ดี
2. สื่อต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงสามารถสื่อความหมายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
3. เป็นการจัดการเรียนการสอนตามอัธยาศัย ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต
4. สามารถนำความคิดที่กระจัดกระจายมารวมกันไว้ให้ผู้ชมสรุปเป็นความคิดรวบยอดได้อย่างถูกต้อง

2. นาฏการ (Dramatization)นาฏการ หมายถึง การแสดงต่าง ๆ ที่จัดขึ้นสำหรับถ่ายทอดความเข้าใจระหว่างผู้แสดงกับผู้ดูการแสดงนาฏการเป็นการเสนอสิ่งเร้าที่เป็นของจริง หรือเสมือนของจริง ซึ่งเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนสนใจ และเอื้อประโยชน์ให้เกิดการเรียนรู้ได้สะดวก นาฏการสามารถจัดลำดับการเสนอเป็นเรื่องราวให้ผู้เรียนเกิดความร้สึกเสมือนว่าตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้น ๆ ด้วย คุณค่าของนาฏการ
1. ทำให้บทเรียนเป็นจริงเป็นจัง น่าสนใจ เกิดความประทับใจและจดจำได้นาน
2 . นักเรียนได้ฝึกทักษะทางภาษา
3. ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกได้เข้าใจ
4. ฝึกความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหาร่วมกัน
5. สร้างและเปลี่ยนแปลงทัศนคติของผู้เรียนไปในทางที่ดี
6. ช่วยระบายความเครียดและสนองความต้องการตามธรรมชาติของเด็กประเภทของนาฏการแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ1. นาฏการที่แสดงด้วยคน2. นาฏการที่แสดงด้วยหุ่น

3. การสาธิต (Demonstration)การสาธิต หมายถึง การสอนโดยวิธีอธิบายข้อเท็จจริง ความคิด และขบวนการต่าง ๆ พร้อมกับการใช้วัสดุหรือเครื่องมือแสดงให้ผู้เรียนได้สังเกตไปด้วย การสาธิตใช้ได้ดีกับเนื้อหาวิชาที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอนและกระบวนการ คุณค่าของการสาธิต
1. เป็นจุดรวมความสนใจของนักเรียน
2. แสดงขั้นตอนหรือเรื่องราวที่เป็นขบวนการได้ดี โดยเฉพาะในการสอนวิชาทักษะ เช่น ดนตรี การใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง เช่น การสังเกต วิจารณ์ และปฏิบัติด้วยตนเอง
4. ช่วยให้ผู้เรียน เรียนด้วยความสนุกสนานและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนดีขึ้น
5. ฝึกให้ผู้เรียนมีวิจารณญาณ และเสริมสร้างทัศนคติที่ถูกต้องให้กับผู้เรียน
6. ลดเวลาในการลองผิดลองถูกของผู้เรียนให้น้อยลง
7. สามารถใช้สอนได้ทั้งวิชาที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบ และวิชาที่มีลักษณะเป็นนามธรรม
8. ประหยัดค่าใช้จ่าย ทุ่นเวลา และป้องกันอันตราที่เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ดี

4. การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา (Community Study)การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวาง มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้นและช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในโอกาสต่อไปได้อย่างดีประโยชน์ของการใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา
1. ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมและรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้จากห้องเรียนไปใช้จริง ๆ กับการเชื่อมโยงสภาพการณ์ในห้องเรียนกับสภาพความเป็นจริง
3. แหล่งวิชาการในชุมชน ขยายความรู้เพิ่มเติมจากที่ครูสอนในหลักสูตรให้สมบูรณ์ขึ้นช่วยให้นักเรียนพบเห็นสิ่งที่เป็นจริง
4. แหล่งวิชาการในชุมชนมีมากมายอยู่แล้ว ทั้งสถานที่และบุคคล ถ้าครูเลือก และนำมาใช้ให้เหมาะสมก็จะได้ผลคุ้มค่าเพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยหรือไม่เสียเลย
5. เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียน ให้ผู้เรียนได้พบสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ เร้าความสนใจและเพิ่มพูนความเข้าใจ
6. ฝึกนิสัยช่างซักถาม และสังเกตพิจารณา
7. ฝึกการทำงานร่วมกัน ฝึกความรับผิดชอบ มนุษยสัมพันธ์ ระเบียบวินัย และการตรงต่อเวลา
8. เปิดโอกาสให้นักเรียนใช้ทักษะด้านการพูดภาษา การเขียน การคิดคำนวณ ศิลปะ
9. แก้ปัญหาครูไม่มีความรู้ ความคุ้นเคยกับชุมชน
10. มีผลต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทัศนคติผู้เรียน
11. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสถานศึกษาและชุมชน นับเป็นการประชาสัมพันธ์สถานศึกษาอย่างหนึ่งแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในชุมชน

5. สถานการณ์จำลอง (Stimulation)สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่นั้น การจัดสถานการณ์จำลอง เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับคนที่ออกไปเผชิญกับปัญหาจริง ๆ เช่น นักเรียนฝึกหัดครู ก่อนที่จะสอนต้องได้รับการฝึกฝนด้านวิชาการสอน วิธีฝึกอย่างหนึ่งที่ได้ผลดีคือ การฝึกจากสถานการณ์จำลองนั่นเอง ขบวนการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลอง เมื่อเสนอสถานการณ์จำลองให้กับผู้เรียนแล้ว ครูควรสรุปแนวทางในการแก้ปัญหาให้กับผู้เรียนแล้วให้นักเรียนเข้าร่วมมีบทบาทในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง แนวทางในการแก้ปัญหาโดยทั่วไปจะประกอบด้วย
1. ปัญหาคืออะไร
2. สาเหตุของปัญหา
3. รวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ
4. หาทางเลือกสำหรับการตัดสินใจ (อาจมีหลายทาง)
5. ตัดสินใจเลือกวิธีแก้ปัญหาที่มีเหตุผลดีที่สุด
6. ลงมือแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก
7. ประเมินผลการแก้ปัญหา
8. พิจารณาปรับปรุงผลของการแก้ปัญหาเพื่อนำไปใช้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น